
- การเป็นพี่เลี้ยงแบบคู่ (Buddy)
- การเป็นพี่เลี้ยงแบบกลุ่ม (Mentor Pool)
และก็ได้นำเสนอไว้ว่า องค์กรสมัยใหม่มักนิยมสร้าง Mentor Pool ดังนั้น บทความนี้จะสนับสนุนแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้าง Mentor Pool ที่ประสบความสำเร็จ
- กลุ่มพี่เลี้ยง ควรกำหนดวาระและประเด็นในการประชุมพบปะกันให้ชัดเจน
- กลุ่มพี่เลี้ยงควรให้คำแนะนำ หัวข้ออภิปรายและโครงการที่จะช่วยให้กลุ่มได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น
- กระตุ้นให้กลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น โดยให้ความสำคัญกับเสียงทุกเสียงของสมาชิก
- สมาชิกพี่เลี้ยงทุกคนควรพร้อมให้คำปรึกษาเสมอ เมื่อกลุ่มต้องการ เพื่อส่งเสริมระบบการดูแลกันและกัน
- กลุ่มพี่เลี้ยง ควรสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายในกลุ่มพี่เลี้ยงและกับบุคคลอื่นในองค์กร
- ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) แก่สมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคล
ระบบพี่เลี้ยงแบบกลุ่ม ก็เปรียบเหมือนระบบการร่วมแรงร่วมใจแบบ “ชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice : CoPs) พี่เลี้ยงทุกคนมีความรู้ ความสามารถและศักยภาพแบบปัจเจกบุคคลในการสนับสนุนดูแลผู้อื่น การเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่ดี ต้องเกิดจากการลงมือทำ เรียนรู้ด้วยตนเองทั้งจุดที่ประสบผลสำเร็จและจุดที่ผิดพลาดล้มเหลว เพราะทุกการลงมือทำของพี่เลี้ยงนั้นได้ผลลัพธ์เสมอ และทุกผลลัพธ์ก็ย่อมเกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกครั้ง